วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผญ๋าอีสาน

ผญ๋าสอนใจไทยอีสาน

  • คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมคนจนผู้แห่นำตีนซ้าง ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง

  • ใจประสงค์สร้าง กลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้าน กลางบ้านกะว่าดง ถ้าใจสู้ (ขยัน) อยู่กลางป่าดงก็เหมือนกลางทุ่งถ้าเกียจคร้านแม้อยู่กลางหมู่บ้านก็เหมือนในกลางป่า

  • ใจบ่โสดาด้วยเว้าแม่นกะเป็นผิด ใจบ่โสดาดอมเว้าดีกะเป็นฮ้าย แม้นไม่สบอารมณแล้วจะพูดอย่างไรก็ไม่มีทางถูกใจได้

  • ตีเจ็บแล้วแสนสิออยกะปานด่า แม่นว่าเว้าจ้อยจ้อยกะปานไม้แดกตา เมื่อถูกตีเจ็บแล้วจะปลอบประโลมปานใดก็ไม่หายเจ็บ

  • อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี อย่าได้ลืมญาติพี่น้องของตัวเอง ไปยกย่องว่าผู้อื่นดีกว่า

  • ชื่อว่าโลกีย์กว้างเมืองคนมันบ่เที่ยง มันหากเงี่ยงซ่อยง่อยคือค่อยตลิ่งของลางเทื่อแนวเด็กน้อยสอนคนหัวด่อน ลางเทื่อลุก

  • เชื้อชาติแฮ้ง เหม็นสาบกันเอง ปูสอนปูให้ย่างตรง ห่อนฤสิทำได้

  • หญิงฮูปฮ้าย ครองวัตรพางาม ชายฮูบทราม วิชาพาฮุ่ง

  • ความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ไผก็แขวนอ้อนต้อน เสมอด้ามดังเดียว

  • ไปหาพระให้เอาของไปถวาย ไปหานายให้เอาของไปต้อน

  • เดินทางบ่อสุดเส้น อย่าถอยหลังให้เขาเหยียบ ตายขอให้ตายหน้าพุ้นเขาสิเอิ้นว่าหาญ

  • คนผู้มีความฮู้ ซูซีเฮ็ดบ่แหม่น ความฮู้มีท่อแผ่นฟ้า เป็นบ้าท่อแผ่นดิน

  • ให้เจ้าคอยเพียรสร้าง เสทอแตนแปงซ่อ ให้สร้างก่อสืบไว้ เสมอเผิ้งสืบฮัง

  • การงานนี้ อุปสรรคแสนหมู่ เกิดเป็นคนต้องสู้ อย่าถอยร่นหลีกหนี

  • บุญ บุญนี้บ่แหม่นของแบ่งได้ ปันแจกกันแหล่ว บ่อห่อนแยกออกได้ คือไม้ผ่ากลาง คือจั่งเฮากินข้าว เฮากินเฮาอิ่มไผผู้เฮียนฮ่ำฮู้ วิชาปราชญ์ทางใด ก็ให้มีใจจด เผิ่งวิชาที่ตนฮู้

  • ขอให้อดสาสู้ เพียรไปให้ถืกป่อง คุณอาจารย์ยกใส่เกล้า คนิงไว้อย่าสิลืม

  • ให้เจ้าเอาความฮู้ หากินในทางชอบ ความฮู้มีอยู่แล้ว กินได้ชั่วชีวัง

  • คันว่าได้ดีแล้ว อย่าลืมคุณพ่อแม่ เผิ่นหากเลี้ยงแต่น้อย ถนอมให้ใหญ่สูง

  • ตกกะเทินว่าได้เฮียนแล้ว สิเฮียนเหมิดสู่ซ่อง เฮียนให้เผิ่นได้ย่อง เหมิดถ้วนคู่สู่แนว

  • ตกกะเทินว่าได้สู้ บ่ถอยหลังให้เขาว่า นับแต่มื้อสิก้าวไปหน้า บ่ถอย

  • ฝนตกยังฮู้เอื้อน นอนกลางคืนยังฮู้ตื่น ความทุกข์ยังฮู้เตื้อง มีขึ้นเมื่อลุน

  • คำสอนพ่อแม่นี้หนักเกิ่งธรณี ผู้ใดยำเยงนบหากสิดีเมือหน้า

  • ยามยังน้อยให้หมั่นฮู้เฮียนคุณ บุญเฮามีสิยศสูงเพียงฟ้า

  • ได้ขึ้นเฮือแล้ว อย่าลืมแพป้องไม้ไผ่ ได้เป็นใหญ่แล้ว อย่าลืมข้าผู้พลอย

  • ชาติที่เงินคำแก้ว มันบ่แหม่นของไผ ผู้ใดมีใจเพียร หากสิหลงหลอนพ้อ

  • ไผผู้มัวเมาคร้าน การงานตั้งต่อ บ่มีวันสิพบพ้อ เงินล้านค่าแพง

  • ชื่อว่าแนวเด็กน้อย ตากอความคึดหม่อ ได้กอขอข้อหล่อ ความเว้าผัดอยู่ดาว

  • เด็กน้อยมีความฮู้สองสามความมันก็อ่ง ผู้ใหญ่ฮู้ตั้งล้านก็อำไว้บ่ค่อยไข

  • ชื่อว่าแนวความเว้าของคนมันเกินง่าย ได้เทิงหงายและคว่ำความเว้าบ่อยู่ความเขาฮักเขาก็ย่อง เขาซังเขาก็ว่า

  • กุญชรช้างพลายสารเกิดอยู่ป่า ยังมาอยู่บ้านเมืองกว้างกล่อมขุน

  • กุญชรช้างอัศดรคุณมาก ก้หากหายากแท้ทั้งค่ายบ่มี ส่วนว่ายุงยองฮิ้นฝูงไฮเฮือดไต่ บ่ห่อนขี้ไฮ้หาได้คู่เฮือน

  • กุญชรโรช้างแนวสูงศักดิ์ใหญ่ ตายย้อนมดแดงน้อย ๆ แนวนั้นก็หากมี

  • คันได้ขี่ช้างแล้วอย่าดังเปิดดังเหิน อย่าได้เสิ่น ๆ หัวแหย่งสิพานพาฮ้าย

  • คันได้ขี่ช้างให้หาแหย่งยองหลัง คันบ่ยองแหย่งลงสิบ่สมทรงช้าง มันสิเสียศรีเศร้าเสียทรงช้างใหญ่ ให้ขัดสีอยู่สู่มื้องามแท้เลิศคุณ

  • คันบ่ออกจากบ้านบ่เห็นด่านแดนไกล คันบ่ไปหาเฮียนก็บ่มีความฮู้

  • คันคากน้อยยังได้ฮบพญาแถน ยังได้ครองนครขวางนั่งเมืองเป็นเจ้า

  • กากับนกเค้าบ่เข้าฮ่อมแกวกัน หนูกับแมวบ่อยู่นำกันได้

  • ความลับบ่มีให้เถิงสาม ความงามบ่ให้เถิงสี่ ความมิดความมี่บ่ให้เถิงห้าเถิงหก

  • ความดีฝังไว้เก้าศอก ความชั่วชักออกมาเก้าวา

  • ใจหนักได้กินข้าว ใจเบาได้กินกลอยหัวใหญ่

  • เจ้านายดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ่ แต่เห็นแก่ไพร่แสนเมือง

  • เอาลูกใภ้มาเลี้ยงย่า ปานเอาห่ามาใส่เฮือน

  • หนูกินม้อน จั่งเห็นคุณแมว ลูกแขวนแอว จั่งเห็นคุณพ่อแม่

  • กินแม่นปาก อยากแม่นท้อง เทียวขี้แม่นขา

  • แจงแวงน้ำ ทาวหาบ่เห็นต่อน ซดแต่น้ำ คาแข้วแสม่งตาย

  • ไฟไหม้ป่าจั่งเห็นหน้าหนู น้ำท่วมฮูจั่งเห็นจิหล่อ

  • บ่มีความฮู้อย่าเว้าการเมือง บ่นุ่งผ้าเหลืองอย่าเว้าการวัด

  • เป็นนายให้ฮักไพร่ เป็นใหญ่ให้ฮักลูกบ้าน ขี้คร้านให้ค่อยเพียรจา

  • เข่า (ข้าว) เต็มเล้านั่งเว้ากะคือ เงินเต็มถังเว้าหยังกะได้

  • ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮือนเพกะพออยู่ ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง นอนลี้อยู่บ่เป็น

  • ทังหลายเพิ่นแพงซิ้นปูปลายามอึดอยาก ความปากความเว้าบ่ได้ซื้อแพงไว้เฮ็ดอิหยัง

  • เข่า (ข้าว) เต็มเล้านั่งเว้ากะคือ เงินเต็มถังเว้าหยังกะได้

  • มีเป็นคน จนเป็นหมา

  • ว่าโตกะคัก เพิ่นแห่งกะด้อ ว่าโตนั่งจ้อก้อ เขานั่นแห่งนั่งตอ

  • เฒ่าเสียดาย ตายเสียชื่อ

  • นาสองเหมือง เมืองสองเจ้า เย้าสองเขยคะลำ

  • เสือตายเพราะหนัง ช้างตายเพราะงา พระยาตายเพราะสมบัติ

  • เสือกะว่าเสือดี หมีกะว่าหมีหาญ ฟานกะว่าฟานกล้า ม้ากะว่าม้าแล่นหัน

  • เห็นดงเป็นบ้าน เห็นเมืองเป็นป่า เห็นท่าน้ำเป็นด้าวด่านเสือ

  • อย่าไปเก็บดอกหว้านบ้านเพิ่นมาซม ให้ค่อยงอยซานเก็บดอกกระเจียวแคมฮั้ว

  • นกอีเอี้ยงกินหมากโพธิ์ไทร แซวแซวเสียงบ่มีโตฮ้อง แซวแซวฮ้องโตเดียวเหมิดหมู่

  • ทุกข์เพิ่นบ่ว่าดี มีจั่งว่าพี่น้อง ลุงป้าเอิ้นว่าหลาน

  • ทุกข์คอบปาก ยากคอบท้อง เคยแล้วอยู่บ่เป็น

  • ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮือนเพกะพออยู่ ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง นอนลี้อยู่บ่เป็น

  • ทุกข์กายอยู่ได้ ทุกข์ใจอยู่ยาก

  • ทุกข์ให้เลี้ยงม้า กำพร้าให้เลี้ยงหมู

  • บ่ทุกข์บ่ยาก บ่อึดบ่อยาก

  • มีเงินเว้าได้ มีไม้เฮ็ดเฮือนงาม

  • มีเงินให้เพิ่นกู้ มีซู้ให้เพิ่นเล่น (นี่กะทุกข์)

  • สุขเพราะมีข้าวกิน สุขเพราะมีดินอยู่

คำคม คำขวัญ


คำคม คำขวัญคืออะไร

คำคม  หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบันทันด่วน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้น ได้อย่างเหมาะเจาะ ทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็จะกลายเป็นสำนวนไปได้

คำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ คำคล้องจอง หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

   ถ้อยคำหรือข้อความ ที่แต่งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ แสดงอุดมคติ หรือเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์กรนั้นๆ เช่น คำขวัญวันเด็ก คำขวัญประจำโรงเรียน เป็นต้น

    ถ้อยคำหรือข้อความ ที่แต่งขึ้นมาเพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ คุณสมบัติ ความโดดเด่น เช่น คำขวัญประจำจังหวัด

ทั้งนี้ยังอาจใช้คำคม หรือพุทธพจน์ มาเป็น คำขวัญ ก็ได้ เช่น "อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา" (บัณฑิตย่อมฝึกตน), "รกฺเขยฺย อตฺตโนสาธุงฺ ลวณํ โลนตํ ยถา" (พึงรักษาความดีไว้เหมือนเกลือรักษาความเค็มฉันนั้น)

อนึ่ง ยังมี "คำขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง ที่ไม่ปรากฏการใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ "คำขวัญ" ที่มีความหมายในปัจจุบันว่า โอวาท เช่น คำขวัญ ของคณบดีคณะต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสืออนุสรณ์บัณฑิต 2503 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นข้อความกึ่งสุนทรพจน์ มีความยาวมากกว่า คำขวัญ ใน 2 ความหมายข้างบน







ตัวอย่างคำคม

หนึ่งก้าวที่ยาวไกล...อาจไหวหวั่นและล้มลง...หนึ่งก้าวที่มั่นคง...แม้จะสั้นแต่มั่นใจ...

คนที่รู้จักจุดหมายปลายทางของตนเอง...คือคนที่เดินทางไปได้ไกลที่สุด...

ความดีเป็นการลงทุนเพียงอย่างเดียว...ที่ไม่เคยทำให้ใครล้มละลาย...

บางคน...ความสำเร็จอยู่แค่เอื้อม...แต่เขากลับไม่เคยได้มา...เพราะไม่รู้จักการไขว่คว้า...

ความรู้...บางครั้งเราได้จากความผิดพลาด...มากกว่าคุณความดี...

ชีวิตมีไว้เพื่อความพอใจ...มิใช่มีไว้เพื่อร้องทุกข์...

แก้วสารพัดนึก...ไม่เคยมีอยู่จริงๆ เลยในโลกมนุษย์...

การฝึกตัวเอง...สร้างตนเอง...พยายามเอาชนะตนเอง...เป็นกฎแห่งความเจริญ...

แรงของปลา...อยู่ที่หาง...กำลังของคนอยู่ที่ใจ...

ลิ้นยาวเพียงสองนิ้วเท่านั้น...ทำให้ขงเบ้งยกเมืองให้เล่าปี่ได้...

ความสำเร็จของคน...ไม่ได้เกิดจากสวรรค์...ไม่ได้เกิดจากโชคชะตา...แต่เกิดจากการฝึกฝน...อย่างจริงจัง...และสม่ำเสมอ...

ถ้าไม่พบกับความทุกข์ยาก...ก็ไม่ได้สิ่งไดมา...

เวลาเจอคนเลว...ให้บอกตัวเองว่า...นี่คือตัวอย่างของชีวิต...ที่ไม่พึงประสงค์...

มาตั้งใจว่าทำได้...แม้หินหนักก็ยังยกไหว...

จงประหยัด...คำติ...แต่อย่าตระหนี่...คำชม...

สิ่งที่มีค่ามาก...ย่อมมีอุปสรรคเยอะ...



เจอคนเก่ง...จงเรียนรู้จากเขา...เจอคนงี่เง่า...ให้เอามาสอนตัวเอง...

น้ำ...ทำให้เรือลอยได้...น้ำก็ทำให้เรือจมได้...

ในโลกนี้...ไม่มีใครเก่งที่สุด...ไม่มีใคร...ฉลาดที่สุด...เราต้องพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น...เราต้องพัฒนาตัวเองให้ฉลาดขึ้น...

คนโง่...มักเที่ยวไปเรื่อยเปื่อย...แต่คนฉลาด...ท่องเที่ยวเพื่อหาความรู้



ตัวอย่างคำขวัญ
ดื่มนมทุกวัน  สุขสันต์แข็งแรง               

หนังสือคือมิตร สื่อความคิดให้ก้าวไกล

บ้านเมืองจะสะอาด  ถ้าปราศจากคนมักง่าย

ยาเสพติด เป็นภัยต่อชีวิต เป็นพิษต่อสังคม

"อย่าคะนองลองยาเสพติด พลาดเพียงนิดชีวิตพังทลาย "

"ไม่เสพ ไม่ขาย ไม่ลอง คำนี้ต้องจำขึ้นใจ "

"ความรักความเข้าใจของครอบครัว นำสิ่งชั่วพ้นจากไป "


คำขวัญวันเด็ก

ที่มาของ คำขวัญวันเด็ก

        เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง โดยปกติอายุของเด็กที่เข้าร่วมฉลองในงานนี้จะต่ำกว่า 14 ปี เพื่อเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ เด็กควรจะมีความขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ช่วยเหลือกันและกัน เสียสละรู้จักสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งรักษาความสะอาดและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสาธารณสมบัติ

ถ้าหากเด็กตระหนักถึงอนาคตของตนเองและของชาติโดยการปฏิบัติตนตามที่กล่าวมานั้น ก็จะได้ชื่อว่าเป็น "เด็กดี" และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง ในขณะเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ จึงได้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และถือปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงหมดฤดูฝนแล้วและเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย ดังนั้นจึงถือปฏิบัติมาจนถึงวันนี้

ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาดังนี้



พ.ศ. นายกรัฐมนตรี คำขวัญ

พ.ศ.2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

พ.ศ.2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

พ.ศ.2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย


พ.ศ.2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

พ.ศ.2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียร

พ.ศ.2507 จอมพล ถนอม กิตติขจร ***งดจัดงาน(ไม่กำหนดคำขวัญ)***

พ.ศ.2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กจะเจริญต้องรักเรียนและเพียรทำดี

พ.ศ.2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่น และสมานสามัคคี

พ.ศ.2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงเรียนดีและ มีความประพฤติเรียบร้อย

พ.ศ.2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร ความเจริญและความมั่นคงของไทย ในอนาคตขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

พ.ศ.2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

พ.ศ.2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

พ.ศ.2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

พ.ศ.2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

พ.ศ.2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

พ.ศ.2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สามัคคี คือ พลัง

พ.ศ.2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เด็กคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความดี

พ.ศ.2519 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติ รุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี

พ.ศ.2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็น คุณสมบัติของเยาวชนไทย

พ.ศ.2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง

พ.ศ.2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

พ.ศ.2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

พ.ศ.2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เด็กไทยมีวินัย ใจซื่อสัตย์ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม


พ.ศ.2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

พ.ศ.2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดมีวินัยและคุณธรรม

พ.ศ.2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

พ.ศ.2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

พ.ศ.2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2530 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

พ.ศ.2534 นายอานันท์ ปันยารชุน รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

พ.ศ.2535 นายอานันท์ ปันยารชุน สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

พ.ศ.2536 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

พ.ศ.2537 นายชวน หลีกภัย ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

พ.ศ.2538 นายชวน หลีกภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนารักษาสิ่งแวดล้อม

พ.ศ.2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพย์ติด

พ.ศ.2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจ ใฝ่ศึกษาไม่พึ่งพายาเสพย์ติด

พ.ศ.2541 นายชวน หลีกภัย ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย

พ.ศ.2542 นายชวน หลีกภัย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

พ.ศ.2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

พ.ศ.2544 นายชวน หลีกภัย มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

พ.ศ.2545 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

พ.ศ.2546 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

พ.ศ.2547 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน


พ.ศ.2548 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

พ.ศ.2549 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

พ.ศ.2550 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

พ.ศ.2551 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

พ.ศ.2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

พ.ศ.2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

พ.ศ.2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธาณะ

พ.ศ.2555 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

คำขวัญประจำอำเภอและจังหวัดของเรา

คำขวัญประจำอำเภอบ้านกรวด

เมืองโลหกรรมลือเลี่อง เครื่องเคลือบโบราณ

 ตำนานแหน่งหินตัด ทิวทิศน์องโอบกงามตา

 เขื่อนเมฆาเย็นสบาย ชายแดนพนมดงรัก

คำขวัญประจำบุรีรัมย์

เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ

 ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม